วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558

แม่


 แม่มีพระคุณมาก แม่ เป็นคำสั้นๆ แต่มีความหมายกว้างใหญ่ไพรศาล หรือถ้าจะหาสิ่งใดมาเปรียบนั้นคงหาไม่ได้เลย บางคนบอกว่าแม่เปรียบดั่งมหาสมุทร บ้างก็เปรียบดั่งอากาสกว้าง บ้างก็เปรียบดั่งธรณี เป็นที่อยู่อาศัยให้กับเรา ซึ่งคำเปรียบพรรณนาเหล่านี้มารวมกันก็ยังไม่เทากับพระคุณของแม่เลยน้ำนมแม่เพียงหยดเดียวก็มีพระคุณมหาสารนับไม่ได้ แม่อุ้มท้องเราถึงเก้าเดือนแม่ต้องทรมานเจ็บท้องแม่อยากไปไหนก็ไม่ได้ไปเพราะกลัวสะเทือนถึงลูกในท้อง กว่าจะคลอดออกมาได้แม่ทรมานมากและต้องเสียเลือดมากมาย แม่มีพระคุณถ้าไม่มีแม่ก็ไม่มีเราในวันนี้ตั้งแต่เล็กจนโตแม่ฉันแค่ดูแลเอาใจใส่ตลอดมาและเป็นผู้ที่ไม่เคยทอดทิ้งฉันในยามทุกข์หรือสุขแม่ก็เคียงข้างฉันเสมอมา แม่อุ้มท้องฉันมาตั้ง 9 เดือน หนักแค่ไหนแม่ไม่เคยบ่นเสียสละทั้งกายและใจเพื่อลูกได้ ถึงแม้จะหิวขนาดไหนแม่ก็ไม่เคยบ่นเลยขอให้ลูกได้อิ่มก็พอแล้ว
     แม่เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ที่ค่อยส่องแสงให้ฉันในยอมที่ฉันท้อแท้หมดแรงหมดหวัง กำลังใจทุกอย่างก็มีแต่แม่ที่ค่อยให้กำลังใจเสมอมา  น้ำนมที่กลั้นออกมาจากเลือดเพื่อให้ลูกได้อิ่มท้อง แม่เสียสละหยาดเหงื่อแรงกายเพื่อฉัน ตั้งแต่เล็กจนโตมาจนถึงทุกวันนี้ก็เพราะแม่ บางครั้งที่ฉันทำผิดแม่ก็ดุก็ด่า แต่ฉันก็เข้าใจว่าทุกคำพูดที่แม่ด่าคือความหวังดีไม่อยากให้ลูกทำผิด แม่ต้องทำงานหาเงินหาเลี้ยงลูก แม่ต้องทำงานหนักเพื่อหาเงินส่งลูกเรียนหนังสือเพราะแม่คิดว่าอยากให้ลูกได้เรียนสูง ๆ เพื่ออนาคตข้างหน้าจะไม่ลำบาก รักของแม่นั้นมอบให้ลูกนั้นไม่มีวันสิ้นสุด จะมีใครคอยป้อนข้าว คอยอาบน้ำ คอยเช็ดน้ำมูกน้ำตาให้ฉัน ยังดีกว่าอีกหลายคนที่เกิดมาแล้วไม่ได้เจอหน้า ไม่ได้รับความอบอุ่นจากแม่ ฉันทั้งรักทั้งห่วงผู้หญิงคนนี้มากสวยที่สุดในโลกคนคนนั้นก็คือแม่ของฉันเอง บางครั้งฉันอาจเคยด่าแม่บ้าง ตะโกนใส่แม่บ้างทำกิริยาที่ไม่เหมาะสมกับแม่บ้าง ฉันของโทษแม่ในสิ่งที่ฉันทำทุกอย่าง สิ่งที่ฉันทำมันเป็นเพียงอารมณ์ชั่ววูบเท่านั้น แต่ฉันก็นึกย้อนกลับไปแล้วสิ่งที่แม่ด่าคือความหวังทั้งหมด ฉันจึงขออโหสิกรรม สิ่งใดที่ลูกทำผิด สิ่งใดที่ลูกทำไม่ดีลูกก็ขอให้แม่ให้อภัยและต่อจากนี้ไป หนูจะเริ่มใช้ชีวิตใหม่กับแม่ด้วยความเข้าใจ และจะพยายามทำทุกอย่างให้แม่ภูมิใจฉันอยากบอกแม่ว่า ฉันรักแม่




วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ค่านิยม 12 ประการ

 มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์   กษัตริย์ หรือ พระมหากษัตริย์ คือประมุขหรือผู้ปกครองสูงสุดของรัฐ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือในราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีน้อยมากซึ่งส่วนใหญ่เป็นอ่านเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

     
พระราชดำรัชว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง


 “...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗)
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี
 เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง
                “...
คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” 
(๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)
พระบรมราโชวาทนี้ ทรงเห็นว่าแนวทางการพัฒนาที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลักแต่เพียงอย่างเดียวอาจจะเกิดปัญหาได้ จึงทรงเน้นการมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ในเบื้องต้นก่อน เมื่อมีพื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรแล้ว จึงสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น
                   
ซึ่งหมายถึง แทนที่จะเน้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมนำการพัฒนาประเทศ ควรที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพื้นฐานก่อน นั่นคือ ทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่พอมีพอกินก่อน เป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้ เพื่อสร้างพื้นฐานและความมั่นงคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก่อนเน้นการพัฒนาในระดับสูงขึ้นไป
                  
ทรงเตือนเรื่องพออยู่พอกิน ตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ คือ เมื่อ ๓๐ กว่าปีที่แล้ว
                  
แต่ทิศทางการพัฒนามิได้เปลี่ยนแปลง
              “...
เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...” (๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)

เศรษฐกิจพอเพียง
        “
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ




    
พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ 2550




มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่ วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ อ่านเพิ่มเติม